ออมสินในทศวรรษที่ ๒๔๙๐
จะยังคงบทบาทเป็นเครื่องมือทางการเงินการคลังของรัฐบาล
หากแต่รูปแบบของการใช้เป็นเครื่องมือเปลี่ยนไปจากเดิม กล่าวคือ
ออมสินกลายเป็นแหล่งเงินกู้แก่หน่วยงานของรัฐบาลและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ตลอดรวมไปถึงวิสาหกิจและบริษัทของรัฐ ซึ่งรูปแบบอย่างนี้เห็นได้ตั้งแต่ทศวรรษที่
๒๔๘๐ แต่จะเห็นได้ชัดเจนในทศวรรษที่ ๒๔๙๐
ในเวลาที่คลังออมสินเปลี่ยนฐานะเป็นธนาคารออมสินแล้ว
ข้อเสนอที่ว่าคลังออมสินควรจะเป็นธนาคารออมสินน้ัน
ก็คือข้อเสนอเดียวกับที่พระยาเชาวนานุสถิติเสนอไว้ใน พ.ศ. ๒๔๗๑
ว่าควรจัดการคลังออมสินในรูปขององค์กรที่แยกออกมาต่างหาก และให้เรียกชื่อว่า Government Savings Bank of Siam อย่างไรก็ดี
คลังออมสินยังคงสังกัดกรมไปรษณย์โทรเลขไม่ได้แยกออกเป็นองค์กรต่างหาก
และยังอยู่ในสังกัดเดิมนี้มาจนหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ กระทั่ง
พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงเห็นความพยายามที่จะแยกคลังออมสินออกมาเป็นองค์กรต่างหาก คือ
เป็นธนาคารออมสิน
เมื่อแรกจัดการคลังออมสินในกรมไปรษณีย์โทรเลขนั้น
มีฐานะเป็นแผนกคลังออมสิน ขึ้นกับกองบัญชี
ครั้นเมื่อกิจการขยายตัวขึ้นก็ยกฐานะขึ้นเป็นกองคลังออมสิน ใน พ.ศ.๒๔๗๗
มีนายสวัสดิ์เป็นหัวหน้ากองคนแรก และเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์ โทรเลข ใน พ.ศ.๒๔๘๘
ความเจริญเติบโตของคลังออมสินเกิดขึ้นอย่างมากในช่วงโอนมาอยู่กับกรมไปรษณีย์โทรเลข
โดยที่คลังออมสินเป็นที่นิยมของประชาชนกว้างขวางขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งจำนวนผู้ฝากเงินและจำนวนเงินฝากที่คลังออมสินรับฝากไว้
ปรากฏว่าเพิ่มปริมาณขึ้นเป็นลำดับ จึงเป็นการเหลือมือของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานคลังออมสินตามที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข
และอีกประการหนึ่งสำหรับประชาชนคนฝากที่ฝากเงินเป็นจำนวนมากๆ
เมื่อมีการถอนเงินเป็นจำนวนมาก ทำให้การจ่ายถอนเงินขลุกขลัก ขัดข้อง หรือล่าช้า
เพราะวงเงินเก็บรักษาของสานักงานคลังออมสินสาขา
รวมทั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่ปฏิบัติงานคลังออมสินขณะน้ันมีวงเงินอันจำกัด
โดยที่คลังออมสินไม่มีกฎข้อบังคับจากัดวงเงินถอนเหมือนกับการคลังออมสินในต่างประเทศที่เขาปฏิบัติกัน
จึงเป็นเหตุให้ประชาชนผู้ฝากไม่สู้จะได้รับความสะดวกเท่าที่ควร
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงคิดจะปรับปรุงกิจการคลังออมสิน โดยกรมไปรษณีย์โทรเลขเตรียมการ
เรื่องนี้มาต้ังแต่ พ.ศ.๒๔๘๗ และที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
พ.ศ.๒๔๘๗ ก็ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคลังออมสินรัฐบาล ที่คณะกรรมการกฤษฎีกายกร่างกรรมการชุดดังกล่าวประกอบด้วย หม่อมหลวงเดช
สนิทวงศ์ นายเสริม วินิจฉัยกุล นายสวัสดิ์ โสตถิทัต นายถนิม ปัทมสูต
และผู้แทนคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่มีชื่อของนายสวัสดิ์เข้าไปอยู่ด้วยนี้คงเป็นเพราะนายสวัสดิ์ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการออมสินมาแต่ต้น
และนายสวัสดิ์ ก็เป็นผู้ที่เคยไปดูงานกิจการคลังออมสิน ณ ประเทศออสเตรเลียเมื่อ
พ.ศ.๒๔๗๑
แต่เพียงผู้เดียวที่ได้เป็นกรรมการพจิารณาร่างพระราชบญัญัติคลังออมสินรัฐบาล
รัฐบาลนำเรื่องการปรับปรุงกิจการออมสินเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีหลายครั้ง
จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีชุดที่มี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรีมีมติให้ปรับปรุงกิจการออมสินให้เป็น
ธนาคารเต็มรูปแบบตามอย่างที่มีดาเนินการในต่างประเทศ
และให้กระทรวงการคลังรับเรื่องไป
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคลังออมสินของรัฐบาลแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นร่างพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน และประกาศใช้ในสมัยของรัฐบาลที่มี พล.ร.ต.ถวัลย์ ธารงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน
พ.ศ.๒๔๘๙ มีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๐๗๑
และธนาคารออมสินก็เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๐ เป็นต้นมา
ธนาคารออมสิน ซึ่งต้ังขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.๒๔๘๙ นี้
มีฐานะเป็นนิติบุคคล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจกำกับดูแลกิจการธนาคาร
และมีคณะกรรมการธนาคารเป็นผู้ควบคุมและดูแลกิจการธนาคาร
ประธานคณะกรรมการธนาคารออมสินคนแรกคือพระยานิติศาสตร์ไพศาล (วันจามรมาน)
ผู้อำนวยการธนาคารออมสินคนแรกคือ นายสวัสด์ิ โสตถิทัต และนายถนิม ปัทมสูต
เป็นรองผู้อำนวยการ เมื่อปรับเปลี่ยนมาเป็นธนาคารออมสินแล้ว
ก็จะเห็นแนวทางการดำเนินงานที่ปรับเปล่ียนไปชัดเจนมากขึ้น
ซึ่งเป็นผลโดยตรงมาจากการเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจในยุคน้ัน กล่าวโดยย่อ
นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยต้ังแต่หลัง พ.ศ.๒๔๗๕ จนถึง พ.ศ.๒๕๐๐ นั้น
อาจเรียกได้ว่านโยบายเศรษฐกิจชาตินิยม คือ รัฐบาลพยายามเข้ามาจัดการเศรษฐกิจ
ซึ่งส่วนใหญ่ในเวลาน้ันอยู่ในอิทธิพลของพ่อค้าชาวจีน
ด้วยการพยายามทำลายฐานเศรษฐกิจของพ่อค้าชาวจีน
และพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยการสนับสนุนให้สมาชิกคณะราษฎรตั้งธนาคารพาณิชย์
รัฐวิสาหกิจ กึ่งรัฐวิสาหกิจ และบริษัทส่วนตัวขึ้น
และความพยายามนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการลดอิทธิพลทางเศรษฐกจิ
ของกลุ่มเจ้านาย-ขุนนาง ที่พ้นจากอำนาจทางการเมืองหลัง พ.ศ.๒๔๗๕ ด้วย
แต่จะเห็นบทบาทของการเป็นแหล่งเงินกู้อย่างชัดเจน หลังรัฐประหาร ๒๔๙๐
ซ่ึงในกรณีนี้เป็นการปล่อยกู้ให้แก่วิสาหกิจของรัฐ ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก
ในทศวรรษที่ ๒๔๙๐ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของรัฐวิสาหกิจ
โดยในช่วงครึ่งแรกของทศวรรษที่ ๒๔๙๐ ผู้กู้ส่วนมากเป็นวิสาหกิจของรัฐ
ขณะที่ครึ่งหลังของทศวรรษนั้นจะปล่อยให้แก่กระทรวงมหาดไทย
เพื่อใช้ในกิจของเทศบาลหรือไม่เช่นนั้นก็ให้เทศบาลกู้โดยตรง
สงครามเย็นที่เกิดขึ้นหลังการยุติของสงครามโลกครั้งที่สอง
ชักนำให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้ไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการปิดล้อม
ประเทศสังคมนิยมและสกัดกั้นการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์
เพื่อจะให้สำเร็จลุล่วงไปตามนโยบาย จึงเป็นความจำเป็นที่สหรัฐอเมริกาจะต้องเข้ามาแทรกแซงหรือมีส่วนในการกำหนดนโยบายของไทยในทางเศรษฐกิจ
สหรัฐอเมริกาซึ่งสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีจึงต่อต้านและกดดันให้รัฐบาลไทยละทิ้งนโยบายเศรษฐกิจชาตินิยม
รัฐบาลไทยในสมัยจอมพลป.
พิบูลสงคราม จึงได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการ
กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่นโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม
โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติสิ่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๔๙๗
ก็ไม่เห็นผลในทางปฏิบัติ กระทั่งเกิดการรัฐประหารในวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๐
คณะรัฐประหารชุดนี้เรียกตนเองว่าคณะปฏิวัติ มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ การรัฐประหาร ๒๕๐๐
นี้เท่ากับเป็นจุดสิ้นสุดของนโยบายเศรษฐกิจชาตินิยม
รัฐเริ่มลดบทบาททางเศรษฐกิจลงและถ่ายโอนการผลิตไปสู่ภาคเอกชน
จำนวนวิสาหกิจของรัฐจึงลดลงจากที่เคยมีสูงถึง ๑๔๑ แห่ง ใน พ.ศ.๒๕๐๐ มาเป็น ๖๙ แห่ง
ใน พ.ศ.๒๕๑๙
อาจกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนจาก "คลังออมสิน" มาสู่ "ธนาคารออมสิน" นั้น
สาเหตุหนึ่งก็เนื่องจากการเติบโตของยอดเงินฝากและจำนวนผู้ฝากเงินธนาคารที่ต้องการการบริหารที่คล่องตัวขึ้น
การแยกออกมาเป็นอิสระจากกรมไปรษณีย์โทรเลขจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทางานตอบสนองต่อฐานผู้ใช้บริการที่ได้ขยายอย่างกว้างขวางภายใต้สังกัดเดิม
ประกอบกับแนวคิดเศรษฐกิจชาตินิยมที่ก่อให้เกิดวิสาหกิจจำนวนมากที่ต้องการเงินทุนสนับสนุน
ทำให้แนวทางการส่งเสริมกิจการของรัฐได้มุ่งเน้นไปท่ีการให้เงินกู้กับรัฐวิสาหกิจมากข้ึน
อย่างไรก็ดี แนวทางดังกล่าวจะนาไปสู่ปัญหาของธนาคาร
และจะกลายเป็นปัจจัยสาคัญในการกำหนดนโยบายของธนาคารออมสินในยุคถัดไป
No comments:
Post a Comment